แมลงก้นกระดก แมลงสุดอันตราย
แมลงก้นกระดก
หรืออีกชื่อคือ แมลงเฟรชชี่ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Paederus fuscipes Curtis และมีชื่อสามัญภาษาอังกฤษว่า Rove beetles เป็นแมลงปีกแข็งที่พบได้หลายๆ ส่วนใหญ่แมลงก้นกระดกจะอยู่ตามแหล่งน้ำ นาข้าว หรือตามพงหญ้า โดยจะพบการระบาดของแมลงก้นกระดกในหน้าฝนเป็นส่วนใหญ่
ลักษณะของแมลงก้นกระดก
มีขนาดลำตัวยาว 7-10 มิลลิเมตร ลำตัว หัว และท้องมีสีดำสลับส้ม ปีกแข็งสั้นมีสีน้ำเงินเข้ม เมื่อเกาะกับพื้นจะงอส่วนท้องส่ายขึ้นลงซึ่งเป็นที่มาของชื่อ แมลงก้นกระดก
อันตรายของแมลงก้นกระดก
ของเหลวในร่างกาย แมลงก้นกระดก จะมีสาร Paederin เป็นส่วนประกอบ มีพิษทำลายผิวหนังและเซลล์เนื้อเยื่อ แมลงก้นกระดกชอบบินหาไฟตามบ้านเรือนในช่วงกลางคืน เมื่อสัมผัสโดนแมลงชนิดนี้จะปล่อยของเหลวออกมาทำให้รู้สึก แสบ คัน ผิวหนังจะไหม้ มีผื่นแดง ตุ่มน้ำ เป็นหนองขึ้นบริเวณผิวหนังที่ไปสัมผัส โดยในระยะแรกที่โดนจะยังไม่มีอาการ แต่พอหลายชั่วโมงผ่านไปจึงจะเริ่มเห็นเป็นรอยแดงเกิดขึ้น หรือรอยแผลอักเสบ หลังจากนั้นอีก 1-2 วัน จึงจะมีตุ่มน้ำใส่ขึ้นมาเป็นหนองเล็กๆ
การรักษาอาการที่เกิดจากแมลงก้นกระดก
- หากแมลงก้นกระดกเกาะบนผิวหนัง ห้ามสัมผัสโดยการปัด ให้เป่าออกจากตัวเรา
- หลังจากสัมผัสโดน ให้รีบล้างตรงบริเวณที่สัมผัสด้วยสบู่หลายๆรอบ
- ทำการประคบด้วยผ้าชุบน้ำเย็บบริเวณที่สัมผัสประมาณ 10 – 15 นาที่
- หากอาการไม่ดีขึ้นให้รีบพบแพทย์ทันที
แผลจาก แมลงก้นกระดก ไม่ได้เกิดจากการกัด หรือถ้ากัดก็ไม่ได้เป็นอะไร เพราะพิษ (Paederin) จะอยู่ในช่องท้องของแมลง โดยสารชนิดนี้มีฤทธิ์เป็นกรดอ่อน ซึ่งถ้าไม่บี้ หรือตบ จนทำให้ท้องของแมลงแตกก็จะไม่เป็นอะไร แต่หากทำให้ท้องแตก สารชนิดนี้หลุดออกมาก็จะทำให้เกิดอันตรายกับผิวหนังได้ เมื่อรู้แบบนี้แล้ว ควรป้องกันไว้แต่เนิ่นๆเพื่อไม่ให้เกิดขึ้นกับคุณ