แมลงวัน (Fly) ที่พบในประเทศไทย

แมลง วันกระจายอยู่ทั่วประเทศและสร้างความรำคาญอย่างยิ่ง นอกจากสร้างความรำคาญแมลงวันยังเป็นพาหะนำโรคได้อีกด้วย แมลงวันส่วนใหญ่ที่พบในประเทศไทยแบ่งเป็น 3 ชนิดได้แก่

แมลงวันบ้าน (House fly, Musca domestica)

วางไข่ในที่ที่มีความชื้นสูง และชอบวางไข่ในที่มีแสงมากกว่าที่มืด บนมูลสัตว์, เศษอาหาร สิ่งปฏิกูล และอินทรียวัตถุอื่นๆ 

แมลงวันหัวเขียว (Blow fly)

วางไข่ครั้งละประมาณ 254 ฟอง ต่อครั้ง โดยจะวางไข่บนซากสัตว์ที่ตาย, อุจระคน, มูลสัตว์ ชอบวางไข่ในช่วงบ่ายแก่ มีอายุเฉลี่ยประมาณ 54 วัน หากินตามแหล่งที่มีโปรตีนสูง พบในที่ที่มีความชื้นสูง

แมลงวันหลังลาย (Fresh fly)

กินซากสัตว์ หรืออุจจาระเป็นอาหาร มูลของสุนัข และบริเวณกองขยะ เป็นแหล่งอาหารหลัก
มักจะเกาะพักภายนอกบริเวณกำแพงหิน
แหล่งเพาะพันธุ์: ซากเน่าเปื่อย, ปุ๋ยคอก, บาดแผล
วงจรชีวิต: 8 – 21 วัน

การป้องกันกำจัดแมลงวัน

การป้องกันกำจัดแมลงวันสามารถแบ่งออกเป็นสองประเภทได้แก่ ไม่ใช้สารเคมีและใช้สารเคมี 

1. การป้องกันกำจัดแมลงวันโดยไม่ใช้สารเคมี สามารถทำได้หลายวิธี เช่น

  • ทำความสะอาดบริเวณรอบๆที่พัก อาคารสำนักงานเพื่อตัดวงจรชีวิตและลดที่เกาะพัก
  • ใช้กับดัก เช่นการใช้กับดักแสงไฟล่อให้แมลงวันบินเข้าไปติด ดักจับแมลงโดยใช้ หลอดไฟ UVA Black Light ที่มีประสิทธิภาพในการดึงดูแมลง เพื่อล่อแมลงเข้ามาในเครื่อง โดยมีแผ่นกาวดักแมลง ดักจับอยู่ด้านในภายในเครื่อง

2. การป้องกันกำจัดแมลงวันโดยใช้สารเคมี

ฉีด พ่นสารเคมีทั้งภายในและภายนอกอาคาร เช่นการพ่นหมอกควันภายนอกอาคารบริเวณที่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์, ใช้วิธีอบละอองฝอยเคมีภายในห้องที่มิดชิด, การสเปรย์สารเคมีรอบอาคารหรือบริเวณที่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ หรือติดตั้งเครื่องฉีดไล่แมลงอัตโนมัติภายในบ้าน อาคารสำนักงาน โดยเครื่องดังกล่าวจะฉีดพ่นละอองสารเคมีออกมาโดยอัตโนมัติสารเคมีที่ใช้เป็น สารเคมีที่ปลอดภัยรับรองโดยองค์การอาหารและยาซึ่งมีความปลอดภัยต่อมนุษย์และสัตว์เลี้ยง

ใช้เหยื่อกำจัดแมลงวันที่มีส่วนผสมของสารเคมีกำจัดแมลงวางบริเวณที่พบการแพร่ระบาดของแมลงวัน