รู้จักจิ้งจก 101 ปัญหาแฝงประโยชน์
หลายๆท่านอาจจะเคยพบปัญหาจิ้งจกกวนใจ ไล่อย่างไรก็ไม่ไป อีกทั้งจิ้งจกยังทิ้งรอยเปื้อนต่างๆไว้ตามผนัง ตามตู้เสื้อผ้า วันนี้ Bug Solutions มีวิธีดีๆที่สามรถไล่จิ้งจกให้ออกไปจากบ้านได้อย่างง่ายดาย แต่ก่อนอื่น เรามาทำความรู้จักกับสิ่งมีชีวิตชนิดนี้ก่อน
จิ้งจกมาจากไหน?
จิ้งจกมีแหล่งกำเนิดมาจากทวีปเอเชีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พูดง่ายๆก็คือมาจากทวีปบ้านเรานั่นเอง ซึ่งจิ้งจกนี้ ในต่างประเทศเรียกว่า “House Gecko” โดยทั่วไปแล้ว จะพบได้ตามธรรมชาติ แต่เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมและปรากฏการณ์ทางธรรมชาติส่งผลให้จิ้งจก จากเดิมที่อาศัยอยู่ตามต้นไม้ ก็ได้เริ่มเปลี่ยนที่อยู่อาศัยมาอยู่ในบ้านคน เมื่อจิ้งจกย้ายจากธรรมชาติมาอยู่ในบ้านคน ก็ส่งผลกระทบต่างๆให้กับการอยู่อาศัยของคน เพราะฉะนั้น จิ้งจกที่เราพบเห็นตามบ้าน ตามฝ้าเพดาน ล้วนเคยเป็นจิ้งจกที่อาศัยตามธรรมชาติทั้งสิ้น
ลักษณะทางกายภาพของจิ้งจก
จิ้งจกเป็นสัตว์เลื้อยคลาน มี 4 ขา มีหางยาว สามารถเปลี่ยนสีได้ตามสภาพพื้นผิวที่มันเกาะ โดยขนาดตัวของจิ้งจกสามารถยาวได้ระหว่าง 4 – 10 นิ้ว มีอายุขัย 5 – 10 ปี ลิ้นสั้นแต่ยืดออกได้ ส่วนใหญ่จะชอบอยู่ตามแสงไฟ คอยกินแมลงที่มาตอมแสงไฟ
สิ่งที่ทำให้จิ้งจกสามารถเกาะบนพื้นผิวได้ คือขนเล็กบริเวณนิ้วเท้าของมันที่เรียกว่า “satae” และใน setae นั้น ก็มีขนที่เรียกว่า “seta” และใน seta ก็มีขนเล็กหลายเส้นเกาะอยู่ เรียกว่า “spatulae”
วงจรชีวิตของจิ้งจก
- จิ้งจกเป็นสัตว์ที่ออกลูกเป็นไข่ โดยตัวเมียจะออกไข่ครั้งละ 2 ฟองในแต่ละรอบของการตกไข่ ซึ่งจิ้งจกมีระบบการตกไข่แบบเดี่ยว หรือเรียกว่า Monoautochronic Ovulatory
- วงจรชีวิตของจิ้งจกแบ่งออกเป็น 4 ช่วงด้วยกัน ได้แก่ ช่วงที่เป็นไข่ ช่วงที่เป็นตัวอ่อน ช่วงที่เป็นตัวเต็มวัย
- ช่วงที่เป็นไข่ ตัวเมียจะออกไข่แล้วนำไปฝังไว้ในที่มิดชิดแล้วปล่อยทิ้งไว้ โดยเชื่อว่าตัวอ่อนขณะที่อยู่ในไข่มีอาหารเพียงพออยู่แล้วจึงไม่ได้อยู่ฟักไข่ ซึ่งระยะที่เป็นไข่จะทำการฟักตัวภายใน 50 – 65 วัน
- ช่วงที่เป็นตัวอ่อน เมื่อพ้นระยะการฟักไข่ ตัวอ่อนของจิ้งจกจะฟักไข่ออกมาแล้วคอยกินของที่เหลือในไข่ ในช่วงนี้จิ้งจกสามารถหาอาหารเองได้ นอกจากนี้การเติบโตของจิ้งจกจะขึ้นอยู่กับสารอาหาร จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพเพิ่มแล้ว
- ช่วงตัวเต็มวัย จะเป็นช่วงที่เริ่มมีการหาคู่ เพื่อผสมพันธุ์ โดยตัวผู้จะเข้าตัวเมียโดยการกัดที่คอแล้วเอาหางรัดหางตัวเมีย แล้วทำการผสมพันธุ์
ประโยชน์และโทษของจิ้งจก
จิ้งจก ถือเป็นสัตว์เลื้อยคลานที่อยู่ใกล้ชิดกับคนเรามาก พบได้ตามบ้านเรือนโดยจะออกหากินแมลงตามแหล่งไฟ ข้อดีของจิ้งจกคือ ช่วยลดแมลงบินที่บินเล่นไฟ(ได้นิดหน่อย) เช่น แมลงเม่า ที่เป็นสาเหตุของปลวกขึ้นบ้าน บางทียังสามารถเป็นอาหารให้กับสัตว์อื่น เช่น คนที่เลี้ยงปลาช่อน สามารถเอาจิ้งจกไปใช้ได้ แต่ข้อเสียดูจะมากกว่าประโยชน์ เช่น จิ้งจกมักร้องเสียงดังช่วงดึกๆ และมักถ่ายมูลติดเปื้อนข้าวของอยู่เป็นประจำ นอกจากนี้จิ้งจกยังคอยกินอาหาร อย่างเช่น ผักหรือผลไม้ที่เราเผลอตั้งไว้อีกด้วย
วิธีไล่จิ้งจก
1. ใช้สเปรย์ไล่จิ้งจกที่ทำจากสมุนไพร ส่วนผสมของสเปรย์นี้ ไม่ทำลายอันตรายต่อสัตว์ที่ฉีดแต่เป็นการไล่และจำกัดพื้นที่การหาอาหารที่อยู่อาศัยของสัตว์เท่านั้น เมื่อใช้เป็นประจำสัตว์เหล่านั้นจะลดปริมาณลงจนหมดไป ก็จะไม่มารบกวนและย้ายที่อยู่ถาวร พิกัดสินค้า
2. ใช้ครีมกำจัดจิ้งจก โดยครีมนี้ค่อยข้างอันตรายแต่จัดการจิ้งจกได้อยู่หมัด แต่อาจเป็นอันตรายต่อสัตว์เลี้ยง แนะนำให้วางในที่มิดชิดที่จิ้งจกซ่อนอยู่ พิกัดสินค้า
3. ใช้ผงไล่จิ้งจก วิธีนี้เป็นวิธีที่ค่อนข้างดีสำหรับบ้านที่มีชั้นเดียว เนื่องจากเพียงเอาผงไปวางตามเสา ก็สามารถป้องกันจิ้งจกที่จะลงมากินอาหาร หรือทำรังในบริเวณนั้นๆได้ พิกัดสินค้า
4. ใช้กล่องกาวดักจิ้งจก วิธีนี้เป็นวิธีที่เป็นมิตรกับคนที่กลัวจิ้งจก เพราะแค่เอาไปติดตั้งทิ้งไว้แล้วรอ ก็จะสามารถนำจิ้งจกออกจากบ้านได้อย่างไม่ต้องกังวล พิกัดสินค้า