โทร: 02-959-9999 | HOTLINE: 080-292-9999

แมลงหวี่ขน…แสนกวนใจ

เชื่อกันว่าเวลาเราเข้าห้องน้ำ จะเห็นแมลงตัวเล็กในห้องน้ำ เกาะอยู่ตามฝาผนัง ตามท่อระบายน้ำ แต่เรารู้หรือไม่ว่า แมลงตัวเล็กๆเหล่านี้ เรียกว่าอะไร คำตอบก็คือ แมลงหวี่ขน นั่นเอง แมลงหวี่ขน มีอยู่หลายชื่อ บางทีก็เรียก แมลงท่อบ้าง แมลงส้วมบ้าง ในบทความนี้เราจะมาดูกันว่า แมลงหวี่ขนมาจากไหน อันตรายหรือไม่ รวมไปถึงวิธีป้องกันแมลงหวี่ขน

ลักษณะแมลงหวี่ขน

  • ลำตัวและปีกมีขนปกคลุมทั่ว
  • ปีกทรงรีคล้ายเมล็ดข้าว
  • เมื่ออยู่นิ่งๆ ปีกจะทับกันคล้ายหลังคา
  • มีหนวดที่แบ่งเป็น 13 ช่อง 1 คู่บนหัว
  • ขนาดตัว 5 มม.

วงจรชีวิตของแมลงหวี่ขน

  • ระยะไข่ ตัวเมียจะวางไข่ไว้บนพืช ต้นไม้ หรือชีวภาพที่มีความชื้น แล้วระยะในการฟักไข่ใช้เวลา 48 ชม.
  • ระยะตัวอ่อน เมื่อเป็นตัวอ่อนมันจะมีหัวแหลม ปากรูปกรวยเรียวยาว เพื่อให้มันหายใจในสภาพแวดล้อมที่เปียกชื้นได้
  • ระยะดักแด้ จะใช้เวลาในการฟักตัวเป็นตัวเต็มวัย หลังจาก 20 – 40 ชม.
  • ตัวเต็มวัย ชีวิตของตัวเต็มวัยจะอยู่ได้เพียง 2 สัปดาห์เท่านั้น แต่ในวงจรชีวิตของแมลงหวี่ขนตั้งแต่ต้นจนจบ ใช้เวลาทั้งสิ้น 3 สัปดาห์เท่านั้น

แมลงหวี่ขนมาจากไหน

  • อ่างล้างจานในครัว
    อ่างล้างจานเป็นแหล่งอาหารชั้นดีของแมลงหวี่ มันจะคอยกินเศษอาหารในท่อแล้วค่อยๆเจริญเติบโต หรือแม้แต่สร้างรังไว้ในที่ใกล้เคียง
  • ท่อระบายน้ำในห้องน้ำ
    ท่อระบายน้ำเช่นกัน บางบ้านเวลาอาบน้ำ ไม่ได้ตรวจเช็คท่อระบายน้ำว่ามีการอุดตันหรือ มักหมม เป็นเหตุให้เกิดการขยายพันธุ์ของแมลงหวี่ขน
  • ท่อระบายน้ำในห้องใต้ดิน
    ห้องใต้ดิน สำหรับประเทศไทยคงพบได้ไม่บ่อย แต่ก็ไม่ควรละเลยกับท่อใต้ดิน เพราะมันอาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ชั้นดีเลยก็เป็นได้
  • ท่อน้ำทิ้ง
    ท่อน้ำทิ้ง เป็นศูนย์รวมของความสกปรกและเป็นแหล่งอาหารสำหรับแมลงหวี่ และแมลงวัน หรือแม้แต่ยุง
  • ดินที่มีน้ำขัง
    ดินที่มีน้ำขังส่วนใหญ่มักพบตามชนบท โดยแมลหวี่จำพวกนี้จะวางไข่ รวมถึงแมลงวันด้วยเช่นกัน

แมลงหวี่ขนอันตรายไหม

ปกติแล้วแมลงหวี่ขนจะไม่ทำอันตรายกับคน แม้มันจะอยู่ในท่อระบายน้ำที่มีเชื้อโรคก็ตาม แต่มันไม่ได้เป็นตัวพาหะ แต่ถ้าหากมีแมลงหวี่ขนจำนวนมาก ก็อาจจะทำให้เกิดความรำคาญและไม่ถูกสุขลักษณะ อย่างไรก็ตาม แมลงหวี่ขนสามารถอยู่ร่วมกับคนได้แต่จะสร้างความรำคาญเพียงเท่านั้น

วิธีป้องกันและกำจัดแมลงหวี่ขน

  • ทำความสะอาดท่อระบายน้ำ อ่างล้างจาน ท่อน้ำทิ้งต่างๆ โดยใช้สารเคมี หรือน้ำยาต่าง วิธีนี้ดูจะเป็นวิธีการที่สมเหตุสมผลกับแม่บ้านทั้งหลาย เพราะ เป็นวิธีที่ง่ายและดูจะได้ผล แต่ต้องหมั่นทำบ่อยๆ พิกัดสินค้า น้ำยาทำความสะอาดท่อ
  • ซ่อมท่อที่มีน้ำรั่ว และแหล่งน้ำขังต่างๆ โดยใช้ สเปรย์อุดรอยรั่ว วิธีนี้ดูจะเหมาะสมกว่าการเปลี่ยนท่อ เพราะบางที่ มีเพียงจุดเล็กเท่านั้นที่เกิดการรั่ว และเป็นวิธีที่ง่ายโดยไม่ต้องพึ่งพาช่าง พิกัดสินค้า สเปรย์อุดรอยรั่ว
  • ทำความสะอาดถังขยะ อย่าให้เกิดการหมักหมม โดยการน้ำไปทิ้งบ่อยๆ และหลีกเลี่ยงการทิ้งเศษอาหารในถังขยะ
  • ใช้สเปรย์กำจัดแมลงเพื่อป้องกันการสืบพันธุ์และทำลายวงจรชีวิต พิกัดสินค้า สเปรย์ไล่แมลง
  • ใช้กาวดักแมลง วิธีนี้เป็นวิธีที่แนะนำสำหรับคนที่ไม่มีเวลา เพราะ แค่นำกาวดักแมลงติดตั้งไว้แล้วไปทำอย่างอื่น เผลอแปปเดียวดักแมลงได้หลายตัว พิกัดสินค้า กาวดักแมลง
  • จ้างผู้เชี่ยวชาญด้านการกำจัดแมลง ที่ใช้ กระบวนการกำจัดแมลงแบบบูรณาการ IPM (Integrated Pest Management)